วันนี้เอาภาพดอกไม้จากงานราชพฤกษ์มาให้ชมกันนะคะ

ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54
ราชพฤกษ์54
ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54
ราชพฤกษ์54
 

ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54

 
ราชพฤกษ์54ราชพฤกษ์54
 
 

ขอบคุณภาพจาก Mayruko

บอนสี เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามโดยเฉพาะใบที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้ใบ” เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Caladium มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวในฤดูหนาวโดยจะทิ้งใบจนหมดและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน

บอนสี หรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า “บอนฝรั่ง” (Caladium Becolor) จากชื่อทำให้คาดเดาได้ว่าเป็นพืชที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จากหลักฐานพอสรุปได้ว่าบอนสีปลูกเลี้ยงกันในต่างประเทศมานานกว่า 300 ปีแล้ว มีการสันนิษฐานว่า บอนสีบางต้นมีผู้นำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชวา เปอร์เซีย และมีความสัมพันธ์กับชาวยุโรปเป็นอย่างดี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสด็จนิวัตพระนครหลังเสด็จประภาสยุโรป ราวปี พ.ศ. 2444 ทรงนำพันธุ์ไม้หลายชนิดจากยุโรปเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในจำนวนพันธุ์ไม้เหล่านี้มีบอนฝรั่งหรือบอนสีรวมอยู่ด้วย ในช่วงแรกปลูกเลี้ยงกันเฉพาะในกลุ่มของเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และมักปิดบังวิธีการปลูกเลี้ยงและการผสมพันธุ์บอน จนกระทั่งความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีเสื่อมลง บอนสีพันธุ์ต่างๆ จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป

บอนสี การปลูกเลี้ยงบอนสีได้มีต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.2470-2475 เป็นช่วงที่บอนสีได้รับความนิยมมากที่สุด มีการผสมพันธุ์บอนขึ้นใหม่มากมาย มีสีสันสวยงามแปลกตาต่างไปจากบอนสีดั้งเดิม มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย มีการตั้งชื่อแยกหมวดหมู่ตามลักษณะและสีสันของใบออกเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า “ตับ” นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดบอนสีที่ “สนามบาร์ไก่ขาว” หลังจากปี พ.ศ.2475 บอนสีก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง จนกระทั่งราวปี พ.ศ.2508 มีผู้สั่งบอนใบยาวจากสหรัฐเข้ามาในประเทศไทย ทำให้มีการผสมพันธุ์บอนสีพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก บอนสีกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งราวปี พ.ศ.2522-2525 มีการจัดตั้ง สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาการปลูกเลี้ยงบอนสีรวมถึงการรับจดทะเบียนชื่อบอนสีที่ได้รับการผสมขึ้นใหม่ และด้วยความสามารถของคนไทย ปัจจุบันการปลูกเลี้ยงบอนสีได้มีการพัฒนาวิธีการปลูกเลี้ยงและสายพันธุ์ให้มีสีสันสวยงามแปลกตาไปจากเดิมมาก จนอาจกล่าวได้ว่าบอนสีคือบอนของคนไทย

ไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์นี้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยใช้ไม้มงคล ๙ ชนิด ปักกับพื้นดิน ไม้ทั้ง ๙ ชนิด มีชื่อเป็นมงคลนาม ได้แก่ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้ขนุน ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ทองหลาง ไม้ไผ่สีสุก ไม้ทรงบาดาล ไม้สัก ไม้พะยูง และไม้กันเกรา อ่านรายละเอียดด้านล่างครับ

 

๑. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น   ผลัดใบ สูง 8 – 15 เมตร
นิเวศวิทยา
  ถิ่นกำเนิดเอเชียแถบร้อน ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
ออกดอก
  กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ทิ้งใบก่อนออกดอก

ขยายพันธุ์   โดยเมล็ด  วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ   นำเมล็ดมาตัดหรือทำให้เกิด บาดแผลที่ปลายเมล็ดแล้ว แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง หรือแช่กรดซัลฟูริคเข้มข้น 1.84 ประมาณ 15 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด   แช่น้ำทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง วิธีนี้สะดวกแต่อันตราย และอีกวิธีหนึ่งคือ ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทลงในเมล็ด ทิ้งไว้ข้ามคืน ทั้ง 2 วิธีนี้จะทำ ให้เมล็ดดูดน้ำเข้าไปและพร้อมที่จะงอก   
               วิธีเพาะ   อาจหยอดลงในถุงดินที่เตรียมไว้หรือจะเพาะในแปลงเพาะแล้วย้ายชำกล้าในภายหลัง   ควรให้เมล็ดอยู่ใต้ผิวดิน 3-5 มิลลิเมตร รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 สัปดาห์

ประโยชน์   ราก ฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย รากและแก่นเป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย เนื้อไม้สีแดงแกมเหลืองทนทานใช้ทำเสา ล้อเกวียน ใบต้มกินเป็นยาระบาย ดอกแก้ไข้ ฝักเนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ


๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น   ขนาดใหญ่ สูง 15 – 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
นิเวศวิทยา
   ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ออกดอก   จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม และเมษายน – พฤษภาคมขยายพันธุ์   โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

ประโยชน์   ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร ผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่น ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบ เผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล


๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น สูงถึง 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อนมีหนาม ใบประกอบรูปขนนกปลายคู่   เรียงสลับ มีใบย่อย 5 – 15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด

ดอก เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5 – 16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20 – 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก

นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดอินโดนีเซีย 
ออกดอก
กุมภาพันธ์ – เมษายน
ขยายพันธุ์
โดยใช้เมล็ด วิธีเพาะเช่นเดียวกับราชพฤกษ์
ประโยชน์
เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ ปลูกประดับ  ดอกสวยงาม


๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีทรัพย์สินเงิน มีเงินทองใช้ไม่ขัดสน
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น   ผลัดใบ สูง 5 – 10 เมตร ตามกิ่งต้นอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง

นิเวศวิทยา พบทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น
ออกดอก มกราคม – กุมภาพันธุ์
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและปักชำ
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ


๕. ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย
 
ข้อมูลทางวิชาการ
เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง 10 – 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 – 12 เซนติเมตร แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 อัน อันกลางยาวกว่าเพื่อน ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5 – 6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8 – 2 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5 – 9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก  คลีบใบเล็กมีขน

นิเวศวิทยา   เชื่อกันว่าเป็นไม้ดั้งเดิมในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก หรือหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้ ในประเทศไทย มักจะขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วย แม่น้ำ และมักปลูกรอบ ๆ บ้านในชนบท

ขยายพันธุ์   ปักชำ   ใช้ท่อนไม้ไผ่มาตัดทอนเป็นท่อน ๆ ให้ติดปล้อง 1 ปล้อง (ข้อตา) นำมาปักไว้ในวัสดุชำ   เอียงประมาณ 45 องศา   เรียงเป็นแถวเป็นแนวเดียวกันเพื่อสะดวกในการดูแลรักษา เติมน้ำลงในกระบอกไม้ไผ่ให้เต็ม ประมาณ 4 สัปดาห์ หน่อจะแตกออกจากตาไม้ไผ่ และรากจะงอกออกจากปุ่มใต้ตา หรือถ้าตัดทอนท่อนไม้ไผ่ให้ตัดข้อตา 2 ข้อ แล้วเจาะตรงกลางระหว่างข้อตา สำหรับเติมน้ำลงไปในปล้อง นำไปวางนอนในวัสดุชำแนวราบก็ได้เช่นกัน

ประโยชน์   สมัยก่อนมักปลูกไว้รอบบ้านเป็นรั้วกันขโมย กันลม หน่อเมื่ออยู่ใต้ดินทำอาหารได้มีรสดี เมื่อโผล่พ้นดินประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร มักเอาไปทำหน่อไม้ดอง จะให้รสเปรี้ยว สีขาว และเก็บได้นาน โดยไม่เปื่อยเหมือนหน่อไม้ชนิดอื่น เนื้อไม้หนาแข็งแรง ใช้สร้างบ้านในชนบทได้ทนทาน ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในการประมง ใช้ในการทำนั่งร้านก่อสร้าง ส่วนโคนนิยมใช้ทำไม้คานหาบหามและใช้ทำกระดาษให้เนื้อเยื่อสูง


๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้พุ่ม สูง 3 – 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 – 6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 – 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 3 เซนติเมตร  ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 – 20 เซนติเมตร

นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด  ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16 ชั่วโมง

วิธีเพาะเมล็ด   เช่นเดียวกับราชพฤกษ์
ประโยชน์
  ปลูกเป็นไม้ประดับ


๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ อำนาจบารมี คนเคารพนับถือและยำเกรง
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น   ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน   ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น

นิเวศวิทยา   ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ออกดอก  
ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน – ตุลาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ปักชำ
ประโยชน์ เนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย ใช้ทำเครื่องเรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพระมีสารพวกเตคโตคริโนน  


๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบเรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่
นิเวศวิทยา   ขึ้นในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้น ทั่ว ๆ ไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ออกดอก   พฤษภาคม – กรกฎาคม ฝักแก่ กรกฎาคม – กันยายน

ขยายพันธุ์   โดยนำเมล็ดแช่ในน้ำเย็น 24 ชั่วโมง  แล้วเพาะในกะบะเพาะ  โดยหว่านให้กระจายทั้งกะบะเพาะแล้วโรยทรายกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน เมื่อกล้าไม้อายุ 10-14 วัน ความสูงประมาณ 1 นิ้ว มีใบเลี้ยง 1 คู่ สามารถย้ายชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ได้

ประโยชน์ เนื้อไม้สีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด


. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง
 
ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น   ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ
นิเวศวิทยา   ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ออกดอก   เมษายน – มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน – กรกฎาคม
ขยายพันธุ์   โดยเมล็ด

ประโยชน์   เนื้อไม้ สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ

การดูแลรักษา

แสง                          ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
                                  อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
                                
การขยายพันธ์          การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน

โรค                           รากเน่า (Sclerotium root rot)

แมลง                        หนอนเจาะดอก

อาการ                 ใบเหลือง เหี่ยว ต้นแห้งตาย โคนต้นมีเส้นใยสีขาว และดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกเสียรูปทรง
                                  และร่วง ดอกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

การป้องกัน
              ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนตัวแก่

การกำจัด                  ใช้ยาเมโธมิล หรือ เมธามิโดฟอส อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

การเพาะเมล็ด

 

ปัจจัยในการปลูกไม้ดอก

การเพาะเมล็ด

             โดยทั่วไปแล้วเมล็ดไม้ดอกส่วนมากมักมีขนาดเล็ก (เล็กกว่า 21 ซม.) พวกที่มีขนาดพอจับต้องได้ไม่เล็กมากนักได้แก่ เมล็ดดาวเรือง, ดาวกระจาย, บานชื่น ฯลฯ ส่วนพวกที่มีขนาดเล็กไม่สะดวกในการจับ ได้แก่ เมล็ดหงอนไก่, แอสเตอร์, เวอร์บีน่า ฯลฯ ส่วนเมล็ดที่มีขนาดเล็กมากบางชนิดคล้ายกับผงฝุ่น เช่น เมล็ดพิทูเนีย, บีโกเนีย, โลยีเลีย, กล็อกซิเนีย อัฟริกันไวโอเล็ต เป็นต้น
 
หลักสำคัญในการเพาะเมล็ดก็คือให้กลบเมล็ดหนา 2 เท่าของความหนาของเมล็ด และโรยเมล็ดโดยไม่ให้เมล็ดทับกัน และให้เมล็ดวางนอนตามธรรมชาติ
 
–          วัสดุเพาะควรมีคุณสมบัติ เบา โปร่ง สะอาด อุ้มน้ำได้ดีพอสมควร
–          ภาชนะที่ใช้เพาะอาจใช้เป็นตะกร้าพลาสติก ที่โปร่ง และพื้นที่เป็นช่องตะแกรงควรมีขนาดประมาณ 3 ถึง 5 มม. ไม่จำกัดขนาดของตะกร้าแล้วแต่จำนวนเมล็ดและความสะดวก หรืออาจใช้กระถางปากกว้างทรงเตี้ย หรือภาชนะอื่นๆ แทนก็ได้
 
ถ้าใช้ตะกร้าพลาสติก ให้ตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่ไม่ได้เคลือบมัน โดยส่วนหนึ่งให้มีขนาดเท่ากับด้านขอบของตะกร้า อีกหนึ่งส่วนเท่ากับพื้นตะกร้า จากนั้นให้ใส่กระดาษที่ตัดลงในตะกร้า และนำวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ใส่ลงในตะกร้า โดยใส่ในส่วนขอบของตะกร้าก่อน แล้วค่อยเติมวัสดุเพาะให้แน่นพอควร เกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบได้ระดับ เพื่อให้ผิวหน้าวัสดุเพาะเก็บความชื้นได้สม่ำเสมอ ไม่มีน้ำขังเป็นแอ่ง
ทำร่องตื้น ๆ เป็นรูปตัว V บนผิวหน้าวัสดุเพาะให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 1 นิ้ว และมีความลึกประมาณ 2 เท่าของความหนาของเมล็ดที่จะเพาะ หากจะเพาะเมล็ดของไม้ดอกกระถางหลาย ๆ ชนิดในตะกร้าพลาสติกใบเดียวกัน ควรจะโรยเมล็ดลงในร่อง ๆ ละ 1 ชนิด และควรคำนึงถึงระยะเวลาในการงอกของเมล็ดแต่ละชนิดด้วย ถ้าเมล็ดมีความงอกดีให้โรยเมล็ดห่างกว่าเมล็ดที่มีความงอกไม่ดี เพราะถ้าโรยเมล็ดหนาแน่นมากเกินไป ต้นกล้าที่งอกขึ้นมาจะเบียดเสียดกันทำให้การระบายอากาศไม่ดีเกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย ต้นกล้าจะผอมและยืดยาว ซึ่งเป็นลักษณะของต้นกล้าที่ไม่ดี หลังจากเพาะเมล็ดเสร็จแล้วให้เขียนชื่อชนิดเมล็ดพันธุ์ และวันที่ที่เพาะลงบนป้ายชื่อ แล้วปักไว้ที่หัวร่องทุกร่องกันลืม และโปรดอย่าลืมว่าการกลบเมล็ดหลังจากหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้วให้ปาดดินจากขอบร่องทั้งสองข้างลงมากลบร่องและเกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ เพื่อให้ได้ระดับเช่นเดิมโดยระวังอย่าให้เมล็ดโผล่ขึ้นมาเหนือวัสดุเพาะในขณะที่กลบร่อง จากนั้นตัดกระดาษอีก 1 ชิ้น ให้มีขนาดเท่ากับผิวด้านบนของวัสดุเพาะ แล้วปิดทับลงบนวัสดุเพาะ วางตะกร้าบนพื้นที่ราบเรียบ แต่ไม่ควรวางที่พื้นโดยตรง ควรวางบนโต๊ะสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 50 ซม. เมื่อกระดาษที่ปิดอยู่ด้านบนเริ่มแห้งให้เปิดกระดาษ เพื่อดูผิวหน้าวัสดุเพาะแห้งหรือไม่ ถ้ายังเปียก หรือชื้นอยู่ให้โปรยน้ำที่กระดาษพอให้เปียก แต่ถ้าผิวหน้าวัสดุเพาะแห้งต้องรดน้ำที่วัสดุเพาะก่อนให้เปียกทั่วกันดีแล้วจึงค่อยปิดด้วยกระดาษ และรดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่งลงบนกระดาษ
ถ้าเพาะโดยใช้กระถางปากกว้างทรงเตี้ย วิธีเพาะจะต่างกันตรงที่ใช้กระดาษแค่ชิ้นเดียว เพื่อปิดด้านบนเท่านั้น และที่สำคัญก็คือ จะต้องเอาเศษกระถางแตก วางคว่ำปิดรูระบายน้ำที่ก้นกระถางก่อน แล้วปิดทับด้วยใยมะพร้าวหน้าประมาณ 1 ซม. เพื่อกันวัสดุเพาะไหลออกก้นกระถาง
 
การรดน้ำตะกร้าเพาะเมล็ดโดยสรุปแล้วมี 2 วิธี คือ
      1.     เปิดกระดาษที่ปิดอยู่ด้านบนออก แล้วใช้บัวรดน้ำ รดให้ทั่ว หากน้ำท่วมให้หยุดรอจนน้ำซึมลงไปก่อนแล้วจึงรดใหม่ 2 ถึง 3 ครั้ง จึงปิดผิวหน้าด้วยกระดาษ แล้วรดน้ำอีกครั้งให้กระดาษพอเปียก
      2.    ใช้บัวรดน้ำ รดลงตะกร้าเพาะที่มีกระดาษปิดอยู่ไปมาเมื่อน้ำเริ่มท่วมกระดาษให้หยุดรดจนน้ำซึมลงไปก่อนจึงรดต่อ 2 ถึง 3 ครั้ง
 
                               ในกรณีที่เมล็ดมีขนาดเล็กมาก เช่น เมล็ดพิทูเนีย บีโกเนีย ก่อนโรยเมล็ดจะนำเมล็ดมาผสมกับทรายละเอียดจำนวนเล็กน้อย คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วจึงโรยให้ทั่วผิวหน้าวัสดุเพาะที่ชื้น แล้วนำตะกร้าหรือกระถางเพาะไปวางในจานรองที่มีน้ำขังอยู่พอสมควร ปล่อยให้น้ำซึมขึ้นจากด้านล่างของภาชนะจนผิวหน้าวัสดุเพาะเปียกจึงยกกระถางออก แล้วปิดปากตะกร้า หรือกระถางด้วยแผ่นกระจกใสหรือพลาสติกใส เพื่อรักษาความชื้น แต่ต้องคอยเปิดกระจกขึ้นบ้างเป็นระยะ เพื่อไม่ให้อากาศภายในร้อนอบอ้าวจนเกินไป นำตะกร้าหรือกระถางไปไว้ในที่แสงรำไร แต่เมล็ดพันธุ์บางชนิดจะงอกดีในที่มืดอย่างเช่น เมล็ดแพงพวย ให้นำไปไว้ในที่มืด หรืออาจใช้ผ้าหนา ๆ หรือพลาสติกสีดำคลุมกันแสงไว้ เมื่อกล้าเริ่มงอกให้รีบนำไปไว้ในที่ซึ่งได้รับแสงแดดมากขึ้น เมื่อผิวด้านบนของวัสดุเพาะเริ่มแห้งให้นำไปวางบนจานรองที่มีน้ำอยู่เหมือนตอนเพาะเมล็ดครั้งแรก เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2 ถึง 4 ใบ จึงย้ายปลูกได้
 

 

ไม้ประดับ ตกแต่ง (ornament) จะเป็นไม้เล็ก ล้มลุก ไม้คลุมดิน และไม้ดอกที่เราจะจัดพุ่มหรือจัดกลุ่ม ประกอบกับไม้ใหญ่ หรือไม้หลัก ให้ผสมกลมกลืนกันไป แล้วแต่รูปแบบที่เราต้องการ หรือแล้วแต่สไตล์ของสวน เราสามารถเลือกปลูกได้ตามความแตกต่างของขนาดความสูง รูปทรง สี โดยให้สลับหรือผสมกลมกลืนกันก็ได้ แล้วแต่ความชอบ เช่นผกากรอง กระดุมทอง ฤษีผสม ดาดตะกั่ว ม้าลาย เป็นต้น แต่อยากแนะนำให้หาไม้พันธุ์พื้นเมือง ที่ดูแลง่ายหน่อย เพราะขึ้นง่าย ตายยาก ไม่ต้องประคบประหงม หรือเปลี่ยนกันบ่อยๆ การจัดให้เรียงตามลำดับความสูง คือให้ต้นสูงกว่าอยู่ด้านหลัง และต้นเตี้ยคลุมดินอยู่ด้านหน้า จะจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแนวตรงหรือโค้งได้ตามความเหมาะสม หรือปลูกล้อมไม้ใหญ่เป็นกลุ่ม หรือปลูกต้นไม้ที่มีใบละเอียดสลับกับใบหยาบ สำหรับคนที่ปลูกเองไม่ได้ให้ช่างหรือใครออกแบบ ก็ต้องดูจากหนังสือ ดูรูปเยอะๆ แล้วเลือกสไตล์ที่ชอบ ไปประยุกต์เอาเองได้

ดอกไม้ประจำวันเกิด

  เกิดวันอาทิตย์  

          ต้นไม้ประจำวันเกิด เป็นต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม  

          ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิด เป็นดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์

          คนเกิดวันนี้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือล้น เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย 

        เกิดวันจันทร์  

          ต้นไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี ยิ่งถ้าปลูกแล้วออกดอกหอม เธอจะยิ่งโชคดี  

          ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชนิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึงความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติก และช่างฝัน 

 

        เกิดวันอังคาร  

          ต้นไม้ที่แสนดีของเธอคือ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นยี่โถ ออกดอกสีชมพู ต้นเข็มออกดอกสีชมพู ถ้าต้นไม้ของเธอออกดอกมากๆ บอกได้ว่าเธอกำลังมีความสุข 

          ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมายถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้ 

กล้วยไม้

 

     เกิดวันพุธ

          ต้นไม้ประจำตัวคนที่เกิดวันพุธนั้นพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่เป็นต้นไม้ใบเขียว โดยเฉพาะต้นกระดังงา ต้นสนฉัตร ดังนั้นเธอควรปลูกต้นไม้เยอะๆ ถึงจะโชคดี ต้นไม้เหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองเธอได้ คือ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบ เพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบเป็นนักการทูตและรักสันติภาพ 

          ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ (เงิน) สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชนิดนี้ หมายถึงรักของเธอต้องมาพร้อมเงิน 

      เกิดวันพฤหัสบดี 

          ต้นไม้ประจำตัวคือ ต้นโสน ต้นราชพฤกษ์ และต้นบานบุรี หากมีต้นไม้เหล่านี้อยู่ในบ้านจะช่วยคุ้มครองดูแลเธอ 

          ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็กๆ ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งคือดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึงรักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวาน เธอที่เกิดวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารักเหมือนดอกไม้ของเธอนั่นแหละ 

        เกิดวันศุกร์  

          ต้นไม้ที่แสนดีของคนที่วันศุกร์คือ ต้นพยับหมอก ต้นแส ต้นอัญชัน 

          ส่วนดอกไม้ของเธอคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิดวันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่มีเสน่ห์ล้นเหลือ หรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบดอกไวโอเลตว่า ฉันรักเธอแล้ว หากรักฉันก็บอกกันบ้างนะคนเกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอน ไปครองอีกดอกหนึ่ง 

        เกิดวันเสาร์ 

          จะมีต้นไม้พวกต้นกัลปังหา ต้นพวงคราม ต้นอินทนิล เป็นต้นไม้ประจำวันเกิด  

          ดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึงรักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว

 

ดอกไม้ > ดอกไม้เมืองหนาว 

รูปดอกไม้ และ ดอกไม้เมืองหนาว จากสถานีเกษตรบนดอยสูงทางภาคเหนือ กำลังปรับปรุงข้อมูลเพิ่ม กล้วยไม้ ดอกไม้ป่า  ดอกไม้บนดอยสูง และ ดอกไม้ ที่หาชมยาก เร็วๆ นี้จะเพิ่มดอกไม้เฉพาะถิ่น เป็นดอกไม้ที่อยู่บนดอยสูง แต่ละดอยมีดอกไม้ที่แตกต่างกัน ผมเดินทางตลอดได้พบเห็นดอกไม้สวยๆ  จะทยอยเอามาลงให้ชมกัน  แวะเข้ามาชมบ่อยๆ นะครับ

 
บัว > ดอกไม้  ดอกบัว บัว เป็นไม้น้ำที่มีดอกสวยงามเป็นที่นิยมปลูกประดับตามบ้านและตามสวนหย่อม บัว ของไทยมีหลายชนิด แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้ ดอกบัวบัวหลวง หรือดอกบัวที่ใช้จัดแจกันบูชาพระ มีดอกและใบชูขึ้นเหนือน้ำ ใบสีเขียวนวลค่อนข้างกลม ขอบใบเรียบ ผิวด้านบนมีขนอ่อนๆ และนวล ดอกมี 4 สี ได้แก่ สีขาว สีแดง สีชมพู และสีเหลือง ติดผลเป็นฝัก การขยายพันธุ์ บัวหลวงมีไหล ชอนไชไปตามหน้าดิน ต้นใหญ่จะเกิดมาจากไหลเหล่านั้น ปลูกต้นเดียวถ้าไม่ตายในหนึ่งปีขายออกไปได้เยอะจนกระทั่งเต็มบึง

ฤดูฝน
ถ้าพูดถึงฤดูฝน..ที่ญี่ปุ่นจะนึกถึงดอก Hydrangea หรือ 紫陽花 あじさい ในภาษาญี่ปุ่น
แม้แต่ในการ์ตูน ถ้าเป็นฉากฤดูฝน ก็จะมีดอกนี้เป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก
จำได้ว่าตอนเห็้นดอกนี้ครั้งแรกเมื่อฤดูฝนที่ญี่ปุ่น เมื่อ 7 ปีที่แล้ว…
โอ้ว ดอกไรเนี่ย ทำไมมันอลังการขนาดนี้ ตอนนั้นเคยเห็นแค่สีม่วง แต่หารู้ไม่ว่ามันมีหลายสี แล้วก็หลายพันธุ์เหลือเกิน
เค้า บอกว่าที่มันมีสีต่าง ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน..แต่น่าแปลกที่บางต้นติดกันเลย แต่ยังให้สีต่างกัน…คนปลูกเอาปูนขาวไปใส่เพิ่มความเป็นด่างหรืออย่างไร… ไม่อาจทราบได้

 

 
 
 
 พุดซ้อน – ดอกไม้โปรด เป็นดอกไม้ที่ชอบมาก ๆ สีสันสดใสสะอาดตา รูปทรงสวย และกลิ่มหอมสดชื่น เวลาได้กลิ่นแล้วจะรู้สึกว่ามีความสุขมาก ๆ และชอบที่จะได้อยู่ใก้ล ๆ ที่สำคัญเค้าจะออกดอกในช่วงฤดูฝน ซึ่งบ่งบอกถึงความสดชื่น เย็นช่ำกำลังจะมาถึง รูปนี้เป็นรูปที่ถ่ายไว้จากต้นที่ปลูกไว้ที่หลังบ้านเมื่อปี 49 แต่ตอนนี้เค้าไม่อยู่แล้ว แต่ก้อได้ซื้อต้นใหม่มา 2 ต้น เมื่อปลายเดือน กรกฎาคม 2550 นี้เอง กำลังจะมีดอกมาให้ชื่นชม แข่งขันกันออกดอกตูมเยอะแยะเลยหละ แล้วจะเก็ยภาพมาฝาก ว่าจะสวยสดงดงาม ขนาดไหน
 

ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้

ฐานข้อมูลต่อไปนี้ ผู้จัดทำฯได้รวบรวมพันธุ์ไม้พื้นๆที่คนปักษ์ใต้ชายแดนใช้เป็น
ผักและเป็นยานำมาเสนอไว้  เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่จะถ่ายทอดเรื่องราวความรู้
ของคนรุ่นทวดรุ่นพ่อเฒ่า ไปยังคนรุ่นลูกหลาน และคนรุ่นหลัง ที่สนใจศึกษาค้น
คว้า จะได้ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้พัฒนายิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่น
ต่อไป
 

พันธุ์ไม้ทั้งหมด   ที่นำเสนอนี้คือพันธุ์ที่มีอยู่  และหาได้  ในแถบชนบทปักษ์ใต้
สำหรับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ที่นำมาลงไว้  ผู้จัดทำฯได้ขวนขวายค้นหามาเท่าที่พอหา
ได้ คงมีพันธุ์ไม้บางอย่างหาไม่ได้   เพราะไม่ทราบว่าในท้องถิ่นอื่นจะมีพันธุ์ไม้
เช่นนี้หรือไม่ และถ้ามี พันธุ์ไม้นี้จะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร     ตัวอย่างต่อไปนี้ คือ
พันธุ์ไม้ในท้องถิ่นสงขลา ที่
คนสงขลาเอง( รวมทั้งคนชนบทแต่อายุน้อยกว่า 50
 ปี )ก็ยังไม่รู้จัก